วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่7

รวบรวมข้อมูลทางด้านธุรกิจ การโฆษณา การตลาด เศรษฐศาสตร์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การเงิน ภาษี และ รัฐประศาสนศาสตร์ มากกว่า 1,100 รายชื่อ รวมถึงสารสนเทศของบริษัทต่าง ๆ อีกมากกว่า 60,000 บริษัท และสามารถสืบค้นบทความฉบับเต็มได้จากวารสารทั่วโลกกว่า 800 รายชื่อ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 - ปัจจุบัน (สกอ. บอกรับ)
- คู่มือการใช้งาน ABI/INFORM
Academic Search Elite
เนื้อหาครอบคลุมสหสาขาวิชาจากทั่วโลก ทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ สถาปัตยกรรม จิตวิทยา ศาสนา ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ (การแสดง การดนตรี) และอีกมากมาย โดยรวบรวมวารสารไว้มากกว่า 3,500 ชื่อเรื่อง ซึ่งมากกว่า 2,070 ชื่อเรื่อง เป็นวารสารฉบับเต็ม ตั้งแต่ปี ค.ศ.1985 - ปัจจุบัน (สกอ. บอกรับ)
Cambridge Journal Online (CJO)
วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักพิมพ์ Cambridge University Press ครอบคลุมสาขาวิชา Agriculture, Biology, Business, Economics, Engineering, General Interest, History, Law, Mathematics, Physical Science และSocial Studies เป็นต้น ข้อมูลประกอบด้วยรายการบรรณานุกรม สาระสังเขป และเนื้อหาเต็มตามเอกสารต้นฉบับ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 - ปัจจุบัน
- คู่มือการใช้งาน CJO
Columbia International Affairs Online (CIAO)
ทฤษฎีและงานวิจัยทางด้านกิจการการต่างประเทศ รวมทั้งแผนที่ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เศรษฐกิจ สังคม รัฐศาสตร์และการเมืองของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 - ปัจจุบัน
- คู่มือการใช้งาน CIAO
Education Research Complete
เนื้อหาเฉพาะทางด้านการศึกษาครอบคลุมการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ โดยให้ข้อมูลวารสารทั้งหมดมากกว่า 1,870 ชื่อเรื่อง เป็นวารสารฉบับเต็มมากกว่า 1,060 ชื่อเรื่อง รวบรวมวารสารหลัก (Core journals) ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับการศึกษาขั้นสูง และรวมถึงหนังสือ ( Books and monographs) และงานวิจัยเฉพาะทางต่างๆ อีกมากมาย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 - ปัจจุบัน (สกอ. บอกรับ)
ที่มา http://www.lib.ru.ac.th/service/index2.html

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่6

A to Z เป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการในการเข้าใช้วารสารออนไลน์ ผู้ใช้สามารถสืบค้นรายชื่อวารสารภาษาอังกฤษที่มีให้บริการผ่านฐานข้อมูลและวารสารออนไลน์ที่สำนักหอสมุดบอกรับ เช่น ACM, Blackwell,IEEE, Science Direct, Springer LINK เป็นต้น การสืบค้นผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นด้วยคำสำคัญของชื่อวารสาร หรือเรียกดูรายชื่อวารสารตามลำดับอักษร และตามหัวเรื่องของวารสารและเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลที่มีวารสารชื่อนั้น ๆ ให้บริการ ซึ่งสามารถเลือกอ่านและเรียกดูเอกสารฉบับเต็มได้อย่างรวดเร็ว
<<คำแนะนำการใช้
ABI/INFORM ฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลทางด้านธุรกิจ การโฆษณา การตลาด เศรษฐศาสตร์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การเงิน ภาษี คอมพิวเตอร์ มากกว่า 1,100 รายชื่อ รวมถึงสารสนเทศของบริษัทต่าง ๆ อีกมากกว่า 60,000 บริษัท และสามารถสืบค้นบทความฉบับเต็มได้จากวารสารทั่วโลกกว่า 800 รายชื่อ (เป็นฐานข้อมูลที่ สกอ.บอกรับ)
Academic Search Complete เป็นฐานข้อมูลที่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกสาขาวิชา โดยให้รายละเอียดบรรณานุกรม บทคัดย่อ และเอกสารฉบับเต็ม (Full-text) จากวารสารวิชาการมากกว่า 6,100 รายการ รวมไปถึงวารสารที่มีการ peer-review 5,100 รายการ สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ตั้งแต่ปี 1887-ปัจจุบัน
การสืบค้นจากนอกเครือข่าย

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่5

วราภรณ์ แดงช่วง

บทความนี้เป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียนจากประสบการณ์ของบรรณารักษ์งานวารสาร ผู้เขียนคาดหวังเพียงเพื่อ เปิดความคิดเห็นแก่ผู้ใช้บริการวารสารภาษาต่างประเทศของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีที่ท่านผู้อ่านมีทัศนะเป็นอื่น ย่อมเป็นการดียิ่งที่จะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เพื่อการพัฒนางานร่วมกันต่อไป พัฒนาการของรูปแบบวารสาร

วารสารเป็นสารนิเทศที่สำคัญของห้องสมุด เพราะเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ ความคิด เสนอความเคลื่อนไหวและพัฒนาการของวิทยาการสาขาต่างๆ ที่ได้จากการค้นคว้า วิจัย รวมทั้งให้ข้อมูลสถิติ ประกาศ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลผลิตและบริการ วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีการจัดพิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถนำเสนอเรื่องราวความก้าวหน้าต่างๆได้อย่างรวดเร็วกว่าหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ ดังนั้น สารนิเทศจากวารสารจึงมีความทันสมัยกว่าสารนิเทศจากแหล่งอื่น (Osborn, 1980)

เนื่องจากความสำคัญดังกล่าวทำให้สำนักพิมพ์ต่างๆผลิตวารสารออกมาในหลายรูปแบบ ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์ รูปแบบวัสดุย่อส่วน รูปแบบฐานข้อมูลซีดี-รอม และรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ บรรณารักษ์จึงต้องศึกษารูปแบบต่างๆของวารสารและจัดหาให้เหมาะสมกับผู้ใช้ ซึ่ง แต่ละรูปแบบก็มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด ดังนี้

1. วารสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์

2. วารสารในรูปแบบวัสดุย่อส่วน

3. วารสารในรูปแบบฐานข้อมูลซีดี - รอม

4. วารสารในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์

1. วารสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์ เป็นรูปแบบดั้งเดิมในการผลิตวารสารที่ผู้ใช้คุ้นเคย สามารถเข้าถึงวารสารได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยอ่าน สามารถพลิกอ่านบทความได้ทั้งเล่ม หยิบใช้สะดวก สามารถดึงดูดความสนใจในการอ่าน เพราะมองเห็นรูปเล่มที่สวยงามได้

ข้อจำกัดของวารสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์ คือต้องเตรียมพื้นที่ไว้สำหรับรองรับการขยายตัวเล่มวารสารตลอดเวลา ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาตัวเล่มวารสารเพราะคุณภาพของกระดาษไม่ถาวร และต้องเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับการเย็บเล่มวารสาร

2. วารสารในรูปแบบวัสดุย่อส่วน วัสดุย่อส่วน หรือ Microforms คือวัสดุย่อส่วนจากเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆลงบนแผ่นฟิล์มหรือบัตร มีผู้เรียกว่า จุลรูป หรือจุลภาพ มีทั้งทึบแสงและโปร่งแสง การอ่านข้อความจากไมโครฟอร์มต้องอ่านด้วยเครื่องอ่านโดยเฉพาะ (กล่อมจิตต์ พลายเวช 2524 : 66) มีสำนักพิมพ์หลายแห่งที่ผลิตข่าวสารในรูปของการย่อส่วน เช่นไมโครฟิล์ม และห้องสมุดเองก็ได้แปลงรูปข้อมูลข่าวสารจากหนังสือเล่ม ของห้องสมุดไปเป็นรูปย่อส่วน เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บ การดำเนินงาน และการประหยัดพื้นที่ ข่าวสารที่ถูกย่อส่วนแสดงให้เห็นถึงยุคใหม่ของการผลิต และการเก็บข่าวสารที่กำลังเปลี่ยนรูปไป (ประภาวดี สืบสนธ์ 2524 : 34) วัสดุย่อส่วนที่นิยมนำมาใช้ในงานห้องสมุด คือ ไมโครฟิช ไมโครฟิล์ม และไมโครแจ็กเก็ต

ข้อดีอย่างเด่นชัดของวารสารในรูปแบบนี้ คือ การประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บเพราะสามารถประหยัดพื้นที่จัดเก็บได้ถึงร้อยละ 85 เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดเก็บในรูปแบบสิ่งพิมพ์ (Tribit : 1988) ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเย็บเล่มวารสาร อาคารไม่ต้องรับน้ำหนักมาก และสามารถแก้ปัญหาวารสารถูกฉีกขาดและเสื่อมสภาพ

ข้อจำกัดของวารสารในรูปแบบนี้ คือ ความไม่สะดวกในการใช้บริการ เพราะต้องใช้เครื่องอ่านและทำสำเนา รวมทั้งการทำสำเนาจากวัสดุย่อส่วนมีความยุ่งยากและมีราคาแพงกว่าสิ่งพิมพ์

3. วารสารในรูปแบบฐานข้อมูลซีดี-รอม ซีดี-รอม ย่อมาจาก Compact Disc- Read Only Memory หรือ CD-ROM เป็นสื่อประเภทหนึ่งในเทคโนโลยีออฟติคัล (Optical) ซึ่งใช้แสงเลเซอร์เป็นเครื่องมือในการบันทึกและอ่านข้อมูลทางบรรณานุกรม ข้อมูลเนื้อหาเต็มรูป ข้อมูลภาพ ข้อมูลตัวเลข และกราฟฟิก ซีดี-รอมเป็นคุณสมบัติเป็นสื่อที่จัดเก็บข้อมูลเพื่อการอ่านเพียงอย่างเดียว สามารถบันทึกข้อมูลได้สูงถึง 1,000 ล้านตัวอักษรต่อแผ่น หรือเท่ากับแผ่นดิสก์1,500 แผ่น หรือ ประมาณ 275,000 หน้ากระดาษ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.72 นิ้ว หรือ12 เซนติเมตร (Zink 1990 : 51)

ข้อดีของฐานข้อมูลซีดี-รอม คือ สามารถบันทึกสารนิเทศได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร กราฟฟิก ภาพ เสียง และเมื่อบันทึกแล้วไม่สามารถลบออกได้ เก็บรักษาง่าย ไม่ ต้องควบคุมอุณหภูมิ มีคุณสมบัติทนทานไม่แตกหักง่าย มีน้ำหนักเบา สามารถพกพาได้สะดวก มีประสิทธิภาพในการสืบค้นได้สะดวกรวดเร็วกว่าวัสดุย่อส่วน ตลอดจนสามารถค้นหาสารนิเทศได้หลายสาขาวิชา และช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านโทรคมนาคม

ข้อจำกัดของของฐานข้อมูลซีดี-รอม คือ ค่าบอกรับฐานข้อมูลซีดี-รอมมีราคาสูงมาก การใช้งานต้องใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และต้องมีเครื่องอ่านซีดี-รอม การใช้บริการเป็นการสื่อสารทางเดียวของผู้ใช้ไม่สามารถเพิ่มเติมแก้ไขข้อมูลใหม่ได้ การปรับปรุงฐานข้อมูลซีดี-รอมล่าช้าจึงทำให้ฐานข้อมูลสารนิเทศต่างๆไม่ทันสมัยเท่ากับการค้นคืนด้วยระบบออนไลน์ (อุทัย ทุติยะโพธิ 2537 : 24)

4. วารสารในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ คือ วารสารทางวิชาการที่ผลิตและเผยแพร่สู่ผู้ใช้โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นวารสารที่ห้องสมุดบอกรับโดยเสียค่าบริการเพื่อให้ผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารนิเทศได้รวดเร็วในเวลาเดียวกันหลายคน โดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่ สามารถจัดหาได้เมื่อต้องการ ( Acquisition on Demand) และมีบริการจัดส่งบทความ (Document Delivery) เมื่อมีผู้ต้องการสั่งซื้อทาง E - mail หรือ Fax หรืออื่นๆได้ตามต้องการ วารสาอิเล็กทรอนิกส์เป็นพัฒนาการของวารสารที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน

ข้อดีของวารสารอิเล็กทรอนิกส์

1. ผู้ใช้สามารถติดตามอ่านวารสารได้อย่างรวดเร็ว ทันทีที่วารสารมีการจัดพิมพ์ เนื่องจากสำนักพิมพ์จัดพิมพ์แบบอิเล็กทรอนิกส์ จึงทำให้เผยแพร่สู่ผู้อ่านได้อย่างรวดเร็ว

2. ผู้อ่านสามารถเข้าถึงวารสารได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยไม่จำกัดเวลา โอกาส และ สถานที่

3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเย็บเล่มวารสาร การเสียแรงงานบุคลากรในการเตรียมวารสารก่อนส่งเย็บเล่มและหลังการเย็บเล่ม

4. ช่วยแก้ปัญหาการได้รับวารสารไม่ครบ วารสารถูกฉีกขาด

5. ช่วยแก้ปัญหาสถานที่เก็บ ไม่มีปัญหาการเพิ่มน้ำหนักพื้นที่ของห้องสมุด

ข้อจำกัดของวารสารอิเล็กทรอนิกส์

1. ค่าใช้จ่ายในการบอกรับ แต่ละสำนักพิมพ์จะกำหนดค่าบอกรับแตกต่างกัน เช่น บางสำนักพิมพ์เมื่อบอกรับวารสารฉบับพิมพ์จะให้สิทธิ์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ บางสำนักพิมพ์แยกราคากันระหว่างฉบับพิมพ์กับวารสารอิเล็กทรอนิกส์

2. ลิขสิทธิ์ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่ชัดเจนเช่นกฎหมายลิขสิทธิ์ของสิ่งพิมพ์

3. วารสารย้อนหลัง การจัดเก็บวารสารอิเล็กทรอนิกส์ฉบับย้อนหลังยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ห้องสมุดที่บอกรับหารูปแบบ วิธีการจัดเก็บเอง หรือบริษัทเป็นผู้จัดทำ

4. การเข้าถึงวารสารอิเล็กทรอนิกส็ ปัญหาสำคัญประการหนึ่งก็คือ ความล่าช้าของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์และผู้ใช้ขาดความเข้าใจในวิธีการสืบค้นข้อมูล ตลอดจนปัญหาของข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกัน

King (1991 : 5-6) กล่าวว่า ประมาณปี 2006 จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกมากในการสืบค้นข้อมูล ตลอดจนการนำส่งข้อมูลเข้าห้องสมุด ในขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์ยังคงมีใช้อยู่ แต่จะมีบทบาทที่แตกต่างไป โดยความคิดนี้ตรงกับความเห็นของ McKnight (1993 : 9) และ Piternick (1989 b : 96) ที่กล่าวว่า วารสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์จะมีการใช้ต่อไป ในขณะที่การใช้วารสารอิเล็กทรอนิคส์จะเป็นเสมือนเส้นขนานมากกว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาแทนที่ นักวิชาการและนักวิจัยจะใช้เวลาเล็กน้อยในห้องสมุด เพราะสามารถสืบค้นข้อมูลได้จากคอมพิวเตอร์ หรือจาก Workstation จากที่ห่างไกลได้

การดำเนินงานวารสารของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดหาวารสารภาษาต่างประเทศเพื่อให้บริการตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มี จำนวนรายการบอกรับส่วนใหญ่เป็นการรับต่อเนื่อง ในปี ค.ศ.1999 ได้มีการสำรวจความต้องการวารสารหลัก (Core Journal) ของอาจารย์ทุกท่านในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงทำให้มีการบอกรับรายการวารสารเพิ่มจากเดิมจำนวน 88 รายการ ในปี ค.ศ. 2000 อย่างไรก็ตาม ถึงแม้สำนักหอสมุดจะพยายามจัดหาวารสารให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อการดำเนินงานวารสาร คือ

1. สถานที่จัดเก็บ บริเวณที่ให้บริการวารสาร อยู่ที่ชั้น 2 ของอาคารสำนักหอสมุด มีพื้นที่ 1185.84 ตารางเมตร (สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : 2542) แบ่งเป็น 2 ปีก คือ ปีกวารสารฉบับปีปัจจุบัน และปีกวารสารฉบับย้อนหลัง โดยบริเวณดังกล่าว ใช้บริการตั้งแต่ปี 2523 โดยไม่สามารถขยายเนื้อที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่จำนวนวารสารมีการเพิ่มขึ้นทุกปี ประกอบกับในปี 2539 เนื้อที่ด้านปีกวารสารฉบับย้อนหลังจำนวน 317.52 ตารางเมตร ได้ถูกแบ่งพื้นที่จำนวน 55.08 ตารางเมตร (สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : 2542) เพื่อกั้นเป็นห้องทำงานของบุคลากร จึงทำให้เนื้อที่จัดเก็บวารสารจำกัดมากยิ่งขึ้น พื้นที่ในการขยายวารสารเย็บเล่มเริ่มมีปัญหา ดังนั้นการบอกรับวารสารในปี 2000 ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ย่อมทำให้มีผลโดยตรงต่อการขยายชั้น และเป็นปัญหาที่ไม่มีจุดจบ แม้จะได้อาคารใหม่ก็ตาม

2. ความไม่สะดวกในการใช้บริการวารสาร เนื่องจากในเดือน มิถุนายน 2541 ฝ่ายวารสาร ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ยืมวารสารออกนอกห้องสมุด อนุญาตให้เพียงถ่ายเอกสารภายในห้องสมุดเท่านั้น ทำให้การใช้บริการวารสารมีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้น

3. การให้บริการวารสารฉบับพิมพ์ อาจเกิดปัญหาในแง่ของ ความต้องการข้อมูลตรงกัน ต้องรอผู้อื่นที่กำลังใช้ใช้ให้เสร็จก่อน

4. ระบบการสืบค้นวารสารค่อนข้างซับซ้อน การเข้าถึงบทความค่อนข้างยาก และไม่ครอบคลุม

5. การให้บริการวารสารฉบับพิมพ์ ในกรณีที่ส่งไปเย็บเล่ม / ไม่มีวารสารรายการดังกล่าวในห้องสมุดอื่นๆในเมืองไทย ทำให้ผู้ใช้ต้องเสียโอกาส หรือต้องรอเป็นเวลานานและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการขอถ่ายสำเนาจากต่างประเทศ

6. ในกรณีที่วารสารเย็บเล่มหนา การถ่ายสำเนาข้อความส่วนที่ใกล้สันวารสาร มักจะทำได้ไม่ชัดเจน

7. ค่าใช้จ่ายในการเย็บเล่มวารสาร วารสารวิชาการส่วนใหญ่เมื่อจัดพิมพ์ครบปีที่ (Volume) จะนำไปเย็บเล่มรวม เพื่อช่วยให้วารสารมีความคงทนต่อการใช้งาน ช่วยรักษาตัวเล่มไม่ให้ถูกฉีกขาด มีความเป็นระเบียบและ เพื่อป้องกันตัวเล่มกระจัดกระจาย สูญหาย ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ประมาณปีละ 60,000 บาท (สถิติการเย็บเล่ม ปี 2540 - 2542) ซึ่งเมื่อนำมารวมกับค่าบอกรับจะเห็นว่าวารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีค่าใช้จ่ายรวมสูงกว่าสิ่งพิมพ์ประเภทอื่น

บทสรุปและแนวคิด

จากสาเหตุดังกล่าว ประกอบกับในสภาพแวดล้อมเช่นปัจจุบัน แนวโน้มของห้องสมุดคงต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงในโลกของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก จากพัฒนาการของรูปแบบในการผลิตวารสาร โดยเฉพาะในการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ซึ่งช่วยเพิ่มประ สิทธิภาพในการเข้าถึงและสืบค้นข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งช่วยประหยัดเนื้อที่ มีราคาถูกกว่าฉบับพิมพ์ สะดวกทั้งเวลาและโอกาสในการเข้าถึงข้อมูล ฯลฯ แต่สิ่งที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ควรคำนึงถึงทัศนคติและความต้องการของผู้ใช้ที่มีต่อสื่ออิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว เพราะคงต้องยอมรับว่า ผู้ใช้ห้องสมุดยังนิยมอ่านวารสารฉบับพิมพ์มากกว่าในรูปแบบอื่น บรรณารักษ์ควรจะคำนึงถึงจุดนี้ โดยจะต้องพยายามมุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาของข้อมูลมากกว่ารูปแบบของข้อมูล

การเปลี่ยนแปลงใดๆก็ตาม ห้องสมุดควรจะต้องอาศัยความร่วมมือกันอย่างดียิ่ง ระหว่าง ผู้บริหารห้องสมุด บรรณารักษ์ บริษัทผู้จำหน่ายวารสาร และผู้ใช้ห้องสมุด เพื่อศึกษาถึงการจัดหาวารสารในรูปแบบที่เหมาะสม สำหรับห้องสมุดในยุคที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลสำคัญยิ่งใน ปัจจุบัน การศึกษาดังกล่าวย่อมจะเป็นประโยชน์ เพื่อใช้เป็นเหตุผลประกอบวิจารณญาณ ในการจัดหาวารสารที่เหมาะสม ช่วยให้บรรณารักษ์สามารถวางนโยบายการจัดหาวารสาร และการให้บริการวาร สารได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งห้องสมุดสามารถใช้ประโยชน์ของการศึกษาดังกล่าว ในการเป็นผู้นำในการพัฒนาทรัพยากรห้องสมุดในรูปแบบที่เหมาะสม ทันสมัยและคุ้มค่าที่สุด

บรรณานุกรม
กล่อมจิตต์ พลายเวช. " การเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด " วารสารบรรณารักษศาสตร์ 1 (มกราคม 2524) : 66.
ประภาวดี สืบสนธ์. " ลักษณะห้องสมุดยุคใหม่ " วารสารบรรณารักษศาสตร์ 1 (มกราคม 2524) : 24.
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ข้อมูลสำรวจอาคารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ : 2542.
อุทัย ทุติยะโพธิ. " ฐานข้อมูลสำเร็จรูป ซีดี - รอม ที่มีใช้ในประเทศไทย " โดมทัศน์ 15, 2 ( กรกฎาคม - ธันวาคม 2537) : 21 - 62.
King, T.B. " The Impact of Electronic and Networking Technologies on the Delivery of

Scholarly Information. " The Serials Librarian 21 (1991) : 5 - 13.

McKnight, Cliff. " Electronic Journals Past, Present and Future? " Aslib Proceeding 45

(January 1993) : 7 - 10.
Osborn, Andrew Delbridge. Serial Publication ; Their Place and Treatment in Libraries.

3 rd ed. Chicago : American Library Association, 1980.
Piternick, A.B. " Serials and New Technology : The State of the Electronic Journal "

Canadian Library Journal 46 (April 1989 b) : 93 - 97.
Tribit, Donald K. Periodicals Management in McCabe, Gerald B. (ed.) , The Small Academic Library :

A Managemrnt Handbook, pp. 91. USA : Greenween Press, 1988.
Zink, Steven D. Planning for the Perils of CD-ROM. Library Journal 115 (February 1, 1990) : 51 - 55.

E-Journals

http://www.mediafire.com/?z277322vgide592

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

e- book

http://books.google.com/books?id=mgmSee2bYJwC&pg=PA86&dq=dsi&hl=th&ei=jaZoTKvGOJG8vgOq2_z9Aw&sa=X&oi=book_result&ct=book-thumbnail&resnum=3&ved=0CDYQ6wEwAg#v=onepage&q=dsi&f=fa

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่5








จับแก๊งปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ สูญ 10 ล้าน
วันที่ 2010-07-02 19:14:36 โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ - 40.2435607910156

ดีเอสไอรวบแก๊งปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ในลักษณะองค์กรอาชญากรรม กระทำความผิดสร้างความเสียหายในเมืองนอกกว่า 10 ประเทศ มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท มีรายได้ 2 แสนต่อสัปดาห์ พร้อมเร่งติดตามจับกุมเครือข่ายอีก 10-20 กลุ่มมาดำเนินคดีต่อไป

ที่มา http://paidoo.net/tag

ข่าวประจำสัปดาห์ที่4





จำคุก 14 ปี นักธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รายใหญ่
วันที่ 2010-05-18 16:17:46 โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ - 43.4798965454102

หวง ก่วงยู่ว์ ผู้ก่อตั้งร้าน gome ศูนย์จำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของประเทศ ซึ่งได้ฉายาว่า เป็น แซม วอลตัน ของจีน และเคยติดอันดับคนจีนที่รวยที่สุด (ภาพเอเยนซี) เอเยนซี- ศาลจีนพิพากษาจำคุก 14 ปี นายหวง ก่วงยู่ว์ ผู้ก่อตั้งร้าน gome ศูนย์จำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของประเทศ ซึ่งได้ฉายาว่า เป็น แซม วอลตัน ของจีน และเคยติดอันดับคนจีนที่รวยที่สุด

หวง ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดจากการให้สินบน เจ้าหน้าที่รัฐ 4.56 ล้านหยวน มีส่วนเกี่ยวข้องในการค้าเงิน รวมทั้งใช้ข้อมูลภายในทำการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และเจรจาการค้าด้วยวิธีที่ผิดกฎหมาย
ที่มา http://www.paidoo.net

ข่าวประจำสัปดาห์ที่3

บีบีเอส (BBS) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่รันซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้หลาย ๆ คน ใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมเทอร์มินัลติดต่อเข้าไปในระบบ ผ่านทางโมเด็มและสายโทรศัพท์. โดยในระบบจะมีบริการต่าง ๆ ให้ใช้ เช่น ระบบส่งข้อความระหว่างผู้ใช้ (คล้าย จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน แต่รับส่งได้เฉพาะภายในระบบเครือข่ายสมาชิกเท่านั้น) ห้องสนทนา บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ และกระดานแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นต้น

บีบีเอสส่วนใหญ่เปิดให้บริการฟรี โดยสมาชิกจะสามารถเข้าใช้ระบบได้แต่ละวันในระยะเวลาจำกัด บีบีเอสมักจะดำเนินการในรูปของงานอดิเรกของผู้ดูแลระบบ หรือที่เรียกกันว่า ซิสอ็อป (SysOp จากคำว่า system operator)

บีบีเอสส่วนในเมืองไทยมีขนาดเล็ก มีคู่สายเพียง 1 หรือ 2 คู่สายเท่านั้น บางบีบีเอสยังอาจเปิดปิดเป็นเวลาอีกด้วย บีบีเอสขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อนได้แก่ ManNET ซึ่งมีถึง 8 คู่สายและเปิดบริการตลอด 24 ชม. ManNET ดำเนินการโดยแมนกรุ๊ป ผู้จัดทำนิตยสารคอมพิวเตอร์รายใหญ่ในยุคนั้น. นอกจากนี้ยังมีบีบีเอส CDC Net ของ กองควบคุมโรคติดต่อ (กองควบคุมโรค ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นบีบีเอสระบบกราฟิกรุ่นบุกเบิกของประเทศไทย

ในปัจจุบัน บีบีเอสมีบทบาทน้อยลงไปมาก เนื่องจากความแพร่หลายและข้อได้เปรียบหลายประการของ อินเทอร์เน็ต และ เวิลด์ไวด์เว็บ. ในประเทศญี่ปุ่น คำว่า บีบีเอส อาจจะใช้เรียกกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ตด้วย. แต่สำหรับเมืองไทยแล้ว นิยมเรียกกระดานข่าวเหล่านี้ว่า เว็บบอร์ด มากกว่า

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/

ข่าวประจำสัปดาห์ที่2




แนวความคิดเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นภายหลัง ปี ค.ศ. 1940 โดยปรากฏในนวนิยายวิทยาศาสตร์ ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสแกนหนังสือจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มภาพตัวหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่าน กระบวนการแปลงภาพเป็นข้อความด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นข้อความที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ การถ่ายทอดข้อมูลจะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษจึงเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูลแทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (Documents printing) ทำให้รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยุคแรก ๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc .txt .rtf และ .pdf ไฟล์ เมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่าง ๆ จึงถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยปรากฏในแต่ละหน้าของเว็บไซต์ซึ่งเรียกว่า "web page" ผู้อ่านสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัท ไมโครซอฟท์ ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้คำแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader และหลังจากนั้นมีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไป กล่าวคือ สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้ คุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป

ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/E-book